Posts Tagged :

ผู้รับเหมา

ผสมคอนกรีต

ปัญหาที่อาจจะเกิดระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างกับผู้ควบคุมงาน

600 400 admin

     ปัญหาหรือข้อขัดแย้งในที่นี้ หมายถึงระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างกับผู้ควบคุมงาน ในกรณีที่แบบขัดแย้งกันหรือข้อกำหนด (Specifications) ไม่ตรงกับที่ระบุในแบบ หรือรายละเอียดในข้อกำหนดขัดแย้งกันเอง จะต้องส่งเรื่องให้ผู้ออกแบบเป็นผู้ตัดสิน แต่ในเรื่องของความพอดีทางหลักวิชาฝีมือและหลักปฏิบัติมักจะเกิดความขัดแย้งกันอยู่เสมอ เช่น สนิมเหล็กแค่ไหนจึงจะยอมรับได้ แค่ไหนต้องใช้กระดทรายขัดออก แค่ไหนต้องใช้พ่นด้วยทราย (Sand Blast) หรือแค่ไหนจะต้องรื้อทิ้ง หรือส่วนผสมคอนกรีตขนาดไหนพอดี ขนาดไหนเหลวหรือขั้นเกินไป แค่ไหนจะยอมให้ใช้ได้แค่ไหนให้เททิ้ง การผูกเหล็กผิดพลาด ขนาดไหนจึงจะแก้ไขด้วยการเสริมเหล็กเพิ่มเติมหรือขนาดไหนจะต้องรื้อออกแล้วทำใหม่ เช่น เดียวกับแบบหล่อจะให้แน่นสนิทเท่าใด หรือชำรุดมากน้อยเพียงใดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะยอมรับได้ เป็นต้น ยังมีข้อขัดแย้งทำนองนี้อีกมาก ซึ่งผู้ควบคุมงานจะต้องใช้วิจารณญาณของตนเองในการตัดสินใจสำหรับผู้ควบคุมงานที่ยังมีประสบการณ์น้อยอาจถือหลักกว้างๆ ได้ดังนี้

     1. ถ้าเกี่ยวกับโครงสร้าง ให้ถือหลักว่าต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามที่ออกแบบไว้ หากมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยให้เสริมความแข็งแรงเท่าที่เห็นสมควร เช่น ตัดเหล็กสั้นเกินไปในจุดที่ไม่วิกฤติก็อาจสั่งให้เสริมทาบต่อให้ได้ความยาวที่ต้องการ หรือผสมคอนกรีตนานเกินกำหนดเพียงเล็กน้อยโดยที่ยังอยู่ในสภาพดีก็อาจยอมให้ใช่ได้ หรือ ให้เพิ่มน้ำปูนเล็กน้อยให้มีอัตราส่วนน้ำ : ปูนชิเมนต์เท่าเดิม แต่ถ้าไม่แน่ใจจะต้องปรึกษาวิศวกรผู้รับผิดชอบทุกครั้ง

     2. ถ้าเกี่ยวกับความละเอียดประณีตและความสวยงาม จะต้องใช้สามัญสำนึกเป็นเกณฑ์ เช่น คอนกรีตใต้ท้องพื้นที่มีฝ้าจะไม่เรียบร้อยบ้างก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นผนังคอนกรีตเปลือยจะยอมให้พรุนหรือคดได้เพียงเล็กน้อยเท่าที่ดูแล้วไม่น่าเกลียดระดับสายตาที่สังเกตเห็นได้ง่าย อาจจะต้องแต่ถ้าอยู่ในให้ฉาบปูน แต่ถ้าสถาปนิกต้องการแสดงลายไม้แบบก็อาจจะต้องถึงกับทุบทิ้งและหล่อใหม่ในกรณีเช่นนี้ควรจะปรึกษาสถาปนิกผู้ออกแบบและกรรมการตรวจการจ้าง หรือเจ้าของโครงการ หรือทั้งสามฝ่ายแล้วแต่กรณี

     3. ในกรณีที่ไม่เกี่ยวกับความแข็งแรงของโครงสร้าง หรือความสวยงาม แต่เกี่ยวกับการใช้งาน ก็ให้ถือหลักว่าเมื่อเสร็จแล้วจะต้องใช้งานได้ดีตามวัตถุประสงค์ทุกประการ เช่น ผนังปล่องลิฟท์ภายในคดแต่ไม่เป็นอุปสรรคในการติดตั้งและใช้งานของลิฟต์แล้วก็น่าจะยอมให้ทิ้งไว้เช่นนั้นได้ ในทางตรงกันข้ามหากเป็นอุปสรรคก็จะต้องสกัดหรือทุบออก หรือ การทำระดับแผ่นพื้นดาดฟ้าหรือห้องน้ำผิดจนทำให้น้ำขังก็จะยอมไม่ได้ แต่ถ้าเป็นพื้นช่วงล่างๆ ที่เมื่อไม่วัดกันจริง ๆ แล้วจะไม่รู้สึกก็ควรจะยอมรับได้ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ความผิดพลาดเหล่านี้ควรจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตนาจะให้ผิด เมื่อแก้ไขแล้วครั้งหนึ่งก็ไม่ควรจะเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สอง

ขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

ขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

600 400 admin

     เรื่องขั้นตอนการทำงานนี้ หากเกิดการผิดพลาดมักทำให้เกิดความล่าช้า สับสน หรือแม้แต่อาจจะเกิดการวิบัติก็ได้ ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า ในการก่อสร้างอาคาร จะมีบุคคลหลายฝ่ายที่ทำงานพร้อมๆ กัน นับตั้งแต่เจ้าของโครงการ ที่ปรึกษาของเจ้าของโครงการวิศวกรคิดราคา (Value Engineer) ผู้ออกแบบทางสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม ทุกระบบผู้รับเหมาใหญ่ และผู้รับเหมาย่อย (เช่นงาน ระบบต่าง ๆ) ผู้ควบคุมงาน ฝ่ายการตลาด ฯลฯ ฉะนั้น การประสานงานเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งผู้ที่ทำน้าที่บริหารโครงการ ( Project Manager) จะต้องจัดวางรูปแบบของการทำงานให้เป็นระบบ เช่น ผู้รับเหมาหยิบยกปัญหาขึ้น ควรจะปฏิบัติอย่างไร

     ทั่วไปจะถือหลักว่าผู้ควบคุมงานเป็นแกนกลางจึงต้องรายงานต่อผู้ควบคุมงานก่อน ผู้ควบคุมงานจะพิจารณาขั้นต้นก่อนว่าเป็นปัญหาที่ตัดสินใจเองได้หรือไม่ ถ้าเป็นปัญหาใหญ่จะต้องเสนอต่อผู้ออกแบบหรือเจ้าของโครงการ แล้วแต่กรณี หากเป็นปัญหาของผู้ออกแบบใดก็จัดส่งเรื่องขึ้นไปขอความเห็นชอบจากผู้ออกแบบที่รับผิดชอบ อาจเป็นสถาปนิก วิศวกรโครงสร้าง หรือวิศวกรงานระบบ จากนั้นก็รอคำตอบ ซึ่งปกติผู้เกี่ยวข้องควรจะตอบภายใน 7-14 วัน จากนั้นจึงนำคำตอบนั้นไปแจ้งต่อผู้รับเหมาก่อสร้างต่อไปในกรณีที่มีการแก้ไขที่ใดที่หนึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อต้านอื่นๆ บางครั้งจึงต้องมีการพิจารณาร่วมกัน และถ้าการแก้ไขนั้นๆ จะต้องมีการเพิ่มหรือลดวงเงิน จะต้องแจ้งเจ้าของโครงการทุกครั้ง หากเจ้าของโครงการไม่ยอมเพิ่มเงิน ก็จะต้องหามาตรการต่อไป จะเห็นว่าหากจ่ายงานผิดขั้นตอนเมื่อไร จะเกิดความยุ่งยากสับสนสำหรับงานก่อสร้างขึ้นทันที อันนำมาสู่ความล่าช้าของงานก่อสร้าง เพราะอาจต้องส่งกลับไปกลับมา หรือไม่ได้รับคำตอบที่ถูกต้อง หรือต้องทำงานหลายครั้งวิธีดีที่สุดคือจัดประชุมร่วมกันและทำความตกลงให้เข้าใจตรงกันทุกฝ่ายก่อนที่จะลงมือทำงาน ในกรณีขออนุมัติวัสดุก็เช่นเดียวกันเมื่อผู้รับเหมาก่อสร้าง เสนอวัสดุมายังผู้ควบคุมงาน ก่อนอื่นต้องตรวจสอบดูว่าวัสดุที่ขออนุมัติให้นั้น ตรงตามที่ระบุในข้อกำหนดหรือไม่เพียงใด แล้วจึงเสนอความเห็นไปยังผู้ออกแบบเพื่อพิจารณา เมื่อผู้ออกแบบพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยก็จะบันทึกตอบเป็นลายลักษณ์อักษร และหากมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมก็จะเขียนลงมาด้วย แล้วส่งกลับไปยังผู้ควบคุมงานซึ่งจะจัดส่งไปยังเจ้าของโครงการหรือกรรมการตรวจการจ้างหนึ่งชุด ผู้รับเหมาก่อสร้างหนึ่งชุด ผู้ควบคุมงานเองเก็บไว้หนึ่งชุด ส่งกลับไปที่ผู้ออกแบบหนึ่งชุด เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน อีกหนึ่งชุดเก็บไว้ที่สถานที่ก่อสร้างสำหรับใช้งานจำนวนชุดอาจมากหรือน้อยกว่านี้แล้วแต่ความต้องการ เช่นเดียวกับการขออนุมัติ Shop Drawing ผู้ควบคุมงานจะตรวจสอบในชั้นแรกก่อน หากเห็นว่าผิดมากก็จะส่งคืนไปยังผู้รับเหมาก่อสร้างให้แก้แล้วส่งมาใหม่ถ้าผิดเล็กน้อยก็แก้ให้จนถูกต้องเรียบร้อยแล้วจึงจะส่งไปยังผู้ออกแบบตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งตามขั้นตอนและสายงานเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมเพราะแต่ละโครงการมีองค์กรไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกล่าวข้างต้นราชการกับเอกชนมักแตกต่างกันมาก แต่หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานชั่วคราวเช่น งาน Sheet Pile เป็นหน้าที่ของฝ่ายที่ปรึกษาหรือ ผู้ควบคุมงานโดยตรงที่จะพิจารณาอนุมัติ

งานก่อสร้างและผู้รับเหมา

การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้รับเหมาก่อสร้าง และเจ้าของโครงการ

1024 512 admin

     วิธีการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้รับเหมาก่อสร้าง และเจ้าของโครงการ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง

     เมื่อทราบหน้าที่ของแต่ละฝ่ายแล้ว ก็ควรพิจารณาว่าทุกฝ่ายจะปฏิบัติงานร่วมกันอย่างไรจึงจะได้ผลสมความมุ่งหมาย ในการปฏิบัติงานก่อสร้างทุกแห่งมักพบปัญหาต่างๆเกิดขึ้นเสมอ เช่น แบบขัดแย้งกัน คุณภาพวัสดุไม่ตรงตามที่ระบุในข้อกำหนด ผู้รับเหมาไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือหลักวิชาช่าง ผู้ควบคุมงานและผู้รับเหมามีความเห็นชัดแย้งกัน เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปด้วยดี ควรจัดให้มีการประชุมพบกันเป็นประจำระหว่างเจ้าของโครงการหรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงานและผู้รับเหมาก่อสร้างทุกรายเพื่อประสานงานและแก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าว นอกเหนือจากการประชุมประจำสัปดาห์ระหว่างผู้ควบคุมงานและผู้รับเหมาก่อสร้าง การประชุมนี้ควรจัดให้มีขึ้นตามความจำเป็น แต่อย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง หากงานดำเนินไปเร็วมาก หรือค่อนข้างมีปัญหา ก็อาจถี่ขึ้นถึงสัปดาห์ละครั้งก็ได้และไม่ควรขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นอันขาดวาระการประชุมควรเน้นเรื่องการพิจารณาอนุมัติวัสดุ รายงานความคืบหน้าของงานความปลอดภัย ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และผลการทดสอบวัสดุ ตามที่ได้กล่าวแล้วว่าวัสดุทุกชนิดที่ผู้รับเหมาก่อสร้างจะนำมาใช้จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ออกแบบ หรือที่ปรึกษาเสียก่อนซึ่งจะให้ความเห็นว่าวัสดุนั้นๆ มีคุณภาพตรงตามที่ระบุไว้ในแบบหรือบทกำหนดหรือไม่แล้วจึงทำบัญชีรายชื่อพร้อมทั้งผลการพิจารณาและนำตัวอย่างเสนอต่อคณะกรรมการตรวจการจ้างในที่ประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ชิ้นตัวอย่างที่ได้รับการอนุมัติแล้วจะต้องลงหมายเลขกำกับเซ็นชื่อและเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ก่อสร้าง 1 ชุด เพื่อที่ในระหว่างก่อสร้างผู้ควบคุมงานจะได้ตรวจสอบวัสดุต่างๆที่ผู้รับเหมาก่อสร้างใช้ให้ตรงตามตัวอย่างนั้นและให้ส่งตัวอย่างทั้งหมดคืนกับผู้รับเหมาก่อสร้างเมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บไว้ ในการนี้เมื่อผู้รับเหมาก่อสร้างเสนอวัสดุมาเพื่อขออนุมัติ

     ผู้ควบคุมงานควรจะเป็นผู้ตรวจสอบขั้นแรกเสียก่อน หากเห็นว่าผิดจากข้อกำหนดแน่ๆ ก็ให้ส่งคืนผู้รับเหมาพร้อมทั้งแจ้งเหตุและให้เสนอมาใหม่ ทั้งนี้เพื่อลดระยะเวลากอนุมัติวัสดุให้สั้นลง เพราะหากส่งกลับไปกลับมาจะเสียเวลามากทำให้โครงการเสียหายได้ในกรณีที่ไม่สามารถนำวัสดุหรืออุปกรณ์มาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจการจ้างหรือเจ้าของโครงการก่อสร้างได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ เช่นลิฟท์ หรือ เครื่องจักรกลต่างๆ หรือเป็นสิ่งที่จะต้องขออนุมัติเพื่อทำการสั่งจากต่างประเทศให้นำแคตตาล็อคมาแสดงแทน โดยสถาปนิกหรือวิศวกรผู้รับผิดชอบจะต้องตรวจสอบก่อนว่าวัสดุหรืออุปกรณ์นั้นๆ มีคุณภาพตรงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ในกรณีที่กำหนดคุณภาพของวัสดุด้วยคุณสมบัติ เช่น กำหนดคุณภาพของคอนกรีตด้วยกำลังอัดสูงสุดที่อายุ 28 วัน หรือของเหล็กด้วยจุดคลากเป็นต้น จะต้องมีการทดสอบคุณสมบัติดังกล่าวเป็นระยะๆ ตลอดงานก่อสร้างแม้จะได้รับอนุมัติให้ใช้ในขั้นแรกแล้วก็ตามหากปรากฏว่าวัสดุดังกล่าวมีคุณภาพต่ำกว่ากำหนดเมื่อใดให้วิศวกรหรือสถาปนิกผู้รับผิดชอบเสนอวิธีแก้ไขให้คณะกรรมการตรวจการจ้าง หรือเจ้าของโครงการหรือผู้แทนพิจารณาในการตรวจรับงานแต่ละงวด ผู้ควบคุมงานจะต้องเป็นผู้ประเมินผลงานว่าเสร็จจริงตามงวดหรือไม่ ในกรณีที่ตรวจรับงานตามกำหนดเวลา เช่น รายเดือน จะต้องคิดค่าของงานที่ได้ทำไปในระหว่างเดือนนั้นๆ แล้วรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้าง หรือเจ้าของโครงการเพื่อประกอบการพิจารณารับงาน