ปัญหาหรือข้อขัดแย้งในที่นี้ หมายถึงระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างกับผู้ควบคุมงาน ในกรณีที่แบบขัดแย้งกันหรือข้อกำหนด (Specifications) ไม่ตรงกับที่ระบุในแบบ หรือรายละเอียดในข้อกำหนดขัดแย้งกันเอง จะต้องส่งเรื่องให้ผู้ออกแบบเป็นผู้ตัดสิน แต่ในเรื่องของความพอดีทางหลักวิชาฝีมือและหลักปฏิบัติมักจะเกิดความขัดแย้งกันอยู่เสมอ เช่น สนิมเหล็กแค่ไหนจึงจะยอมรับได้ แค่ไหนต้องใช้กระดทรายขัดออก แค่ไหนต้องใช้พ่นด้วยทราย (Sand Blast) หรือแค่ไหนจะต้องรื้อทิ้ง หรือส่วนผสมคอนกรีตขนาดไหนพอดี ขนาดไหนเหลวหรือขั้นเกินไป แค่ไหนจะยอมให้ใช้ได้แค่ไหนให้เททิ้ง การผูกเหล็กผิดพลาด ขนาดไหนจึงจะแก้ไขด้วยการเสริมเหล็กเพิ่มเติมหรือขนาดไหนจะต้องรื้อออกแล้วทำใหม่ เช่น เดียวกับแบบหล่อจะให้แน่นสนิทเท่าใด หรือชำรุดมากน้อยเพียงใดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะยอมรับได้ เป็นต้น ยังมีข้อขัดแย้งทำนองนี้อีกมาก ซึ่งผู้ควบคุมงานจะต้องใช้วิจารณญาณของตนเองในการตัดสินใจสำหรับผู้ควบคุมงานที่ยังมีประสบการณ์น้อยอาจถือหลักกว้างๆ ได้ดังนี้
1. ถ้าเกี่ยวกับโครงสร้าง ให้ถือหลักว่าต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามที่ออกแบบไว้ หากมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยให้เสริมความแข็งแรงเท่าที่เห็นสมควร เช่น ตัดเหล็กสั้นเกินไปในจุดที่ไม่วิกฤติก็อาจสั่งให้เสริมทาบต่อให้ได้ความยาวที่ต้องการ หรือผสมคอนกรีตนานเกินกำหนดเพียงเล็กน้อยโดยที่ยังอยู่ในสภาพดีก็อาจยอมให้ใช่ได้ หรือ ให้เพิ่มน้ำปูนเล็กน้อยให้มีอัตราส่วนน้ำ : ปูนชิเมนต์เท่าเดิม แต่ถ้าไม่แน่ใจจะต้องปรึกษาวิศวกรผู้รับผิดชอบทุกครั้ง
2. ถ้าเกี่ยวกับความละเอียดประณีตและความสวยงาม จะต้องใช้สามัญสำนึกเป็นเกณฑ์ เช่น คอนกรีตใต้ท้องพื้นที่มีฝ้าจะไม่เรียบร้อยบ้างก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นผนังคอนกรีตเปลือยจะยอมให้พรุนหรือคดได้เพียงเล็กน้อยเท่าที่ดูแล้วไม่น่าเกลียดระดับสายตาที่สังเกตเห็นได้ง่าย อาจจะต้องแต่ถ้าอยู่ในให้ฉาบปูน แต่ถ้าสถาปนิกต้องการแสดงลายไม้แบบก็อาจจะต้องถึงกับทุบทิ้งและหล่อใหม่ในกรณีเช่นนี้ควรจะปรึกษาสถาปนิกผู้ออกแบบและกรรมการตรวจการจ้าง หรือเจ้าของโครงการ หรือทั้งสามฝ่ายแล้วแต่กรณี
3. ในกรณีที่ไม่เกี่ยวกับความแข็งแรงของโครงสร้าง หรือความสวยงาม แต่เกี่ยวกับการใช้งาน ก็ให้ถือหลักว่าเมื่อเสร็จแล้วจะต้องใช้งานได้ดีตามวัตถุประสงค์ทุกประการ เช่น ผนังปล่องลิฟท์ภายในคดแต่ไม่เป็นอุปสรรคในการติดตั้งและใช้งานของลิฟต์แล้วก็น่าจะยอมให้ทิ้งไว้เช่นนั้นได้ ในทางตรงกันข้ามหากเป็นอุปสรรคก็จะต้องสกัดหรือทุบออก หรือ การทำระดับแผ่นพื้นดาดฟ้าหรือห้องน้ำผิดจนทำให้น้ำขังก็จะยอมไม่ได้ แต่ถ้าเป็นพื้นช่วงล่างๆ ที่เมื่อไม่วัดกันจริง ๆ แล้วจะไม่รู้สึกก็ควรจะยอมรับได้ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ความผิดพลาดเหล่านี้ควรจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตนาจะให้ผิด เมื่อแก้ไขแล้วครั้งหนึ่งก็ไม่ควรจะเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สอง